แอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายต้องดูยังไง ? รู้ไว้ไม่ตกเป็นเหยื่อ
ไม่อยากตกเป็นเหยื่อแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายต้องรู้อะไรบ้าง ?
เพื่อน ๆ เคยเจอไหมคะ เวลาที่เราเลื่อนโทรศัพท์ไปมาแล้วเจอโฆษณาเงินกู้ด่วนแบบโผล่มาไม่ให้ตั้งตัว เหมือนเค้ารู้ว่าเรากำลังต้องการเงินอยู่พอดี แต่เดี๋ยวก่อนนะคะ ! แอปฯ เงินกู้เหล่านี้ไม่ได้ถูกกฎหมายทุกตัว บางแอปฯ ก็คือหลุมพรางที่มาพร้อมดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อ พร้อมวิธีทวงหนี้แบบมหาโหด ดังนั้น เราจึงจะพาไปดูกันค่ะ ว่าแอปเงินกู้ผิดกฎหมายเป็นยังไง แล้วจะหลีกเลี่ยงยังไงให้ไม่ตกเป็นเหยื่อ
ทำไมแอปฯ กู้เงินเถื่อนถึงอันตราย ?
อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ค่ะ แอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายเป็นเหมือนหลุมดำที่ดูดเงินและข้อมูลส่วนตัวของเราค่ะ ลองดูเหตุผลเหล่านี้ว่าเพราะอะไรเราถึงต้องหนีให้ไกล !
- ละเมิดความเป็นส่วนตัวหนักมาก : เมื่อเราดาวน์โหลดแอปฯ เถื่อนมาแล้ว มักจะขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลในมือถือเรา ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อติดต่อ รูปภาพ ข้อความ แม้กระทั่งไมโครโฟนและกล้อง ซึ่งพวกมิจฉาชีพสามารถใช้ข้อมูลพวกนี้มาข่มขู่หรือแบล็กเมลเราได้ค่ะ
- ดอกเบี้ยโหดเหมือนโกรธกันมา : กฎหมายไทยกำหนดให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี แต่แอปฯ กู้เงินเถื่อนบางเจ้าคิด 200-300% ต่อปี จ่ายยังไงก็ไม่หมด แถมยังโดนค่าธรรมเนียมแปลก ๆ จนหนี้พอกหางหมูแน่นอนค่ะ
- ผิดนัดชำระ = เจอข่มขู่ทุกรูปแบบ : พวกนี้ไม่ใช่แค่โทรมาทวงหนี้เฉย ๆ นะคะ แต่เล่นแรงถึงขั้นประจานในโซเชียล ส่งข้อความขู่ แถมบางคนโดนตัดต่อรูปอนาจารเพื่อบีบให้จ่ายเงินอีกด้วย
แอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายดูยังไง ?
แอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายสมัยนี้มาแบบแนบเนียนสุด ๆ บางแอปฯ ทำออกมาให้ดูเหมือนเป็นแอปฯ ทางการ มีโลโก้สวยงาม ใช้คำที่ดูน่าเชื่อถือ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะพบสัญญาณบางอย่างที่บอกว่านี่คือเงินกู้ผิดกฎหมาย ลองดูข้อสังเกตเหล่านี้ค่ะ
1. ชื่อแอปฯ แปลก ๆ ชวนให้เอะใจ
- แอปฯ กู้เงินเถื่อนมักใช้คำที่ฟังดูดึงดูดใจ เช่น "เงินด่วนอนุมัติไว" "กู้ได้ไม่ต้องเช็กเครดิต" หรือมีคำที่ดูเหมือนมาจากต่างชาติ เช่น ชื่อภาษาอังกฤษที่แปลก ๆ หรือมีภาษาจีนปนอยู่
2. ไม่มีข้อมูลบริษัทที่ชัดเจน
- แอปฯ เถื่อนมักไม่แสดงที่อยู่บริษัท ไม่มีเลขทะเบียนนิติบุคคล หรือไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
- ลองตรวจสอบแอปฯ เงินกู้ด้วยการค้นหาข้อมูลบริษัทจากอินเทอร์เน็ต ถ้าไม่มีข้อมูลชัดเจนหรือพบรีวิวแย่ ๆ เยอะ ก็มีโอกาสสูงว่าเป็นมิจฉาชีพ
3. ขั้นตอนการกู้ง่ายผิดปกติ
- หากแอปฯ ไหนให้กู้ง่าย ๆ แค่ส่งรูปบัตรประชาชนกับถ่ายเซลฟี่ แล้วได้เงินภายใน 30 นาที ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าไม่ปลอดภัย
- สินเชื่อที่ถูกกฎหมายมักต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม เช่น สลิปเงินเดือนหรือเอกสารแสดงรายได้
4. เงื่อนไขดอกเบี้ยคลุมเครือ
- แอปฯ กู้เงินเถื่อนมักใช้วิธีบอกดอกเบี้ยแบบเข้าใจยาก เช่น "คิดแค่ 0.1% ต่อวัน" ซึ่งจริง ๆ แล้วเท่ากับ 36.5% ต่อปี
- บางแอปฯ ไม่แจ้งดอกเบี้ยชัดเจน แต่แอบแฝงค่าธรรมเนียมมหาโหด
วิธีป้องกันตัวเองจากแอปฯ เงินกู้เถื่อน
ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่ามาแก้ไขทีหลังค่ะ นี่คือสิ่งที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมาย
1. อย่าดาวน์โหลดแอปฯ ที่มาจากแหล่งไม่น่าเชื่อถือ
- ระวังแอปฯ ที่ส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดผ่าน SMS, LINE หรือโฆษณาในโซเชียลมีเดีย
- ถ้าจำเป็นต้องกู้เงิน ควรโหลดจาก App Store หรือ Google Play และตรวจสอบรีวิวให้แน่ใจก่อน
2. เช็กรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อที่ได้รับอนุญาต
- ธนาคารแห่งประเทศไทยมีรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง สามารถเข้าไปตรวจสอบแอปฯ เงินกู้ได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท.
3. อย่าหลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง
- คำโปรโมตประเภท "อนุมัติไว 100%" "กู้ได้แม้ติดเครดิตบูโร" หรือ "ไม่มีเอกสารยุ่งยาก" เป็นสิ่งที่แอปฯ กู้เงินเถื่อนใช้หลอกล่อให้คนหลงเชื่อ
4. ระวังเรื่องการให้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลมือถือ
- ถ้าแอปฯ ขอเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ เช่น รายชื่อติดต่อ รูปภาพ ไมโครโฟน กล้อง ให้ปฏิเสธทันที
ถ้าเผลอไปกู้มาแล้วต้องทำยังไง ?
ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนพลาดไปกู้แอปฯ กู้เงินเถื่อนแล้ว อย่าเพิ่งตกใจค่ะ ! มีวิธีแก้ไขเพื่อลดความเสียหาย ดังนี้
1. รีบปิดสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > การอนุญาตแอปฯ (App Permissions) แล้วปิดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็น
2. แจ้งให้คนใกล้ตัวทราบ
- บอกครอบครัวและเพื่อน ๆ ให้รู้ล่วงหน้า เผื่อพวกมิจฉาชีพโทรไปข่มขู่หรือส่งข้อความประจาน
3. เก็บหลักฐานทุกอย่าง
- ถ่ายสกรีนช็อตข้อความแชต หลักฐานการโอนเงิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ เผื่อใช้ดำเนินคดี
4. แจ้งความกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สามารถแจ้งความออนไลน์หรือไปที่สถานีตำรวจในพื้นที่
- ติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของ ธปท. หรือสายด่วน ปปง. เพื่อขอความช่วยเหลือ
ทางเลือกเงินด่วนโดยไม่ต้องพึ่งแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมาย
ถ้าจำเป็นต้องใช้เงินด่วนจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องหันไปพึ่งแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายเลยค่ะ ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ถูกกฎหมาย และปลอดภัยกว่า
1. โรงรับจำนำ
- นำทรัพย์สินไปจำนำ เช่น ทองคำ นาฬิกา เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้เงินก้อนทันที ดอกเบี้ยถูกกว่ามาก
2. สินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคาร
- กู้จากสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทสินเชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย
3. สินเชื่อจำนำเล่มประเภทต่าง ๆ
- สินเชื่อที่ใช้เล่มทะเบียน หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของแลกกับเงินก้อน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถแทรกเตอร์ และสินเชื่อจำนำโฉนดที่ดิน โดย เงินเทอร์โบ ผู้ให้บริการสินเชื่อถูกกฎหมาย พร้อมเป็นทางเลือกให้แก่เพื่อน ๆ ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่อง
4. กองทุนหมู่บ้านหรือสหกรณ์ออมทรัพย์
- หลายพื้นที่มีแหล่งเงินกู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ดอกเบี้ยต่ำ ไม่มีการข่มขู่
หนีแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายให้ไกล แล้วมาเพิ่มสภาพคล่องกับ เงินเทอร์โบ
ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการเงินด่วนมากแค่ไหน เพื่อน ๆ ก็อย่าหลงกลให้กับแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายเด็ดขาด เพราะยังสามารถหาทางเสริมสภาพคล่องอย่างถูกกฎหมายได้ที่เงินเทอร์โบ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านการเงินแบบครบวงจร ด้วยบริการสินเชื่อที่หลากหลายทั้งสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อที่ดิน
- วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ
- สมัครง่าย อนุมัติไว
- รถมีใช้ บ้านมีอยู่เหมือนเดิม
สามารถมาที่เงินเทอร์โบได้ทุกสาขาใกล้บ้าน หรือกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ได้เลยค่ะ
การกดส่งข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียบร้อยแล้ว
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 15% - 24% ต่อปี
*เงื่อนไขและการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด