รวมมิตรกฎหมายแรงงาน รู้ไว้ไม่ถูกเอาเปรียบจากนายจ้างแน่นอน

กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างควรได้รับ รู้ไว้ไม่เสียประโยชน์

เพื่อน ๆ ที่เป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำหรือชั่วคราว เคยเจอปัญหาเรื่องค่าแรง สวัสดิการ หรือทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่าตอบแทน หรือโดนไล่ออกหรือถูกเลิกจ้างแต่ไม่ได้เงินชดเชยกันบ้างไหมคะ ? ถ้าเพื่อน ๆ ถูกเอาเปรียบและคิดว่าตัวเองอยู่ในภาวะจำยอม ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร มีสิทธิตามกฎหมายอะไรบ้าง ? วันนี้เงินเทอร์โบจะบอกเล่าถึงสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานมาฝากกันค่ะ ซึ่งช่วยคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง และกำหนดหน้าที่ของนายจ้างให้ชัดเจน เพื่อให้มีการจ้างงานอย่างเป็นธรรม ซึ่งกฎหมายแรงงานที่จำเป็นต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ค่าแรงและค่าจ้างตามกฎหมาย

เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า แม้ว่าค่าแรงและค่าจ้างเป็นเรื่องที่ยินยอมและตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่กฎหมายแรงงานก็ไม่ยอมให้นายจ้างมากดราคาค่าแรง โดยมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตามค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจนั่นเอง

ค่าแรงขั้นต่ำ อัปเดตปี 2568

ตั้งแต่มกราคม 2568 ได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัด ดังต่อไปนี้

  • 400 บาทต่อวัน ใน 4 จังหวัด 1 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • 380 บาทต่อวัน ใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • 372 บาทต่อวัน สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
  • 359 บาทต่อวัน ใน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา
  • 358 บาทต่อวัน ใน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม
  • 357 บาทต่อวัน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ ยกเว้นอำเภอเมืองเชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
  • 356 บาทต่อวัน ใน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี
  • 355 บาทต่อวัน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก สุพรรณบุรี และหนองคาย
  • 354 บาทต่อวัน ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ และตราด
  • 352 บาทต่อวัน ใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลา ยกเว้นอำเภอหาดใหญ่ สระแก้ว สุราษฎร์ธานี ยกเว้นอำเภอเกาะสมุย และอุบลราชธานี
  • 351 บาทต่อวัน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์
  • 350 บาทต่อวัน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน
  • 349 บาทต่อวัน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด
  • 348 บาทต่อวัน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง
  • 347 บาทต่อวัน ใน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
  • 345 บาทต่อวัน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง น่าน พะเยา และแพร่
  • 337 บาทต่อวัน ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา

ค่าแรงขั้นต่ำเป็นข้อบังคับตามกฎหมายนะคะ ดังนั้น นายจ้างจะไม่สามารถจ่ายต่ำกว่านี้ได้ และต้องจ่ายตรงเวลา ที่สำคัญไม่มีสิทธิหักเงินลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันควร ถ้าใครละเมิด สามารถฟ้องร้องได้เลย

ค่าแรงในวันหยุดตามกฎหมายแรงงานของไทย

รู้ค่าแรงขั้นต่ำแล้วไม่พอค่ะ เราจะต้องรู้ด้วยว่า หากต้องมาทำงานในวันหยุด เราจะต้องได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของวันหยุดและประเภทของการจ้างงาน

ค่าแรงในวันหยุดสุดสัปดาห์

  • ลูกจ้างรายเดือนได้เพิ่มขึ้น 1 เท่าของค่าแรง/ชั่วโมง
  • ลูกจ้างรายวัน 2 เท่าของค่าแรง/ชั่วโมง

ค่าแรงในวันหยุดพักร้อนประจำปี หรือวันหยุดตามประเพณี

  • ลูกจ้างรายเดือนและรายวันได้เพิ่มขึ้น 1 เท่าของค่าแรง/ชั่วโมง

การทำงานล่วงเวลาและค่าตอบแทนพิเศษ

เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงเคยทำงานล่วงเวลาเพื่อเพิ่มรายได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ค่าทำงานล่วงเวลาก็มีค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดเหมือนกันค่ะ

ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ

  • ลูกจ้างรายเดือนและรายวัน ได้ 1.5 เท่าของค่าแรงปกติ

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

  • ลูกจ้างรายเดือนและรายวัน ได้ 3 เท่าของค่าแรงปกติ

สวัสดิการที่ลูกจ้างควรได้รับ

นอกจากเรื่องค่าแรงที่ต้องได้รับแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว นายจ้างจะต้องดูแลเรื่องสวัสดิการด้วยนะคะ โดยพื้นฐานแล้วนายจ้างจะต้องมีสวัสดิการให้ ดังต่อไปนี้ค่ะ

สวัสดิการที่นายจ้างต้องให้ลูกจ้างตามกฎหมาย

  • ประกันสังคม นายจ้างจะต้องส่งเงินสมทบทุกเดือนเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิรักษาพยาบาลและเงินชดเชยต่าง ๆ
  • น้ำดื่มและห้องน้ำที่สะอาด เพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกจ้างในการทำงาน
  • การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น กรณีเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของสวัสดิการจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างในสังกัดอีกด้วย

สวัสดิการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนด

นอกจากสวัสดิการตามกฎหมายแล้ว นายจ้างอาจจะจัดสรรสวัสดิการเพิ่มเติม เพื่อจูงใจให้คนทำงานอยู่ด้วยนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เงินสงเคราะห์ค่าทำศพ เงินช่วยเหลือกรณีแต่งงานหรือคลอดบุตร เป็นต้น

วันหยุดและวันลา

นอกจากเรื่องค่าแรงต่าง ๆ แล้ว วันหยุดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เป็นสิทธิทางกฎหมายที่จะต้องมี ค่ะ โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันหยุด

  • วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
  • วันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างน้อย 13 วันต่อปี

วันลา

ลูกจ้างสามารถลาได้ โดยที่นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง แต่อาจจะต้องมีการแจ้งล่วงหน้าตามนโยบายของบริษัท ดังนี้

  • ลากิจ เพื่อติดต่อธุระส่วนตัว หรือเรื่องจำเป็น อย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี
  • ลาป่วย ในกรณีเจ็บป่วย ไม่เกิน 30 วันต่อปี แต่หากว่าลาเกิน 30 วัน นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่ลาเกินกว่าที่กำหนด
  • ลาพักผ่อนประจำปี หากลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิลาพักร้อนได้ 6 วันทำงานต่อปี หากใช้ไม่หมดสามารถทบไปปีถัดไป หรือบางที่อาจจะสามารถแปลงเป็นเงินได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท
  • ลาคลอด สามารถลาได้ทั้งก่อนและหลังคลอดบุตร ไม่เกิน 90 วัน โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวน 45 วัน
  • ลาบวชหรือลาไปเกณฑ์ทหาร ได้รับอนุญาตให้ลาได้ แต่ต้องแจ้งนายจ้างล่วงหน้า

การถูกเลิกจ้างและเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

สุดท้ายแล้ว หากว่าเพื่อน ๆ ถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม ยกเว้นการถูกไล่ออกเพราะทำผิดร้ายแรง นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน ดังต่อไปนี้

  • ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 30 วัน
  • ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 90 วัน
  • ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชย 180 วัน
  • ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
  • ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 300 วัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เพื่อน ๆ ควรรู้

ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน หรือจ่ายล่าช้า ต้องทำอย่างไร ?

เพื่อน ๆ สามารถแจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 3 ค่ะ

นายจ้างบังคับให้ทำโอทีโดยไม่จ่ายเงินเพิ่มได้ไหม ?

ตามกฎหมายแล้ว ไม่ได้ค่ะ

นายจ้างหักเงินเดือนโดยไม่มีเหตุผลได้ไหม ?

ไม่ได้ค่ะ นายจ้างสามารถหักได้แค่ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประกันสังคม หรือเงินกู้ยืมที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า

<H2>ต้องการเงินด่วน เงินกู้ถูกกฎหมายจากเงินเทอร์โบช่วยได้ </H2>

หากนายจ้างไม่ดูแลให้เงินค่าจ้างหรือสวัสดิการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถร้องเรียนได้ที่กรมแรงงาน แต่หากว่าเพื่อน ๆ ต้องการใช้เงินด่วน เงินเทอร์โบ มีเงินกู้ถูกกฎหมาย ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับหนี้นอกระบบค่ะ

✅ อนุมัติไว ได้เงินเร็ว

✅ ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน

✅ ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบาย

✅ สมัครง่ายผ่านสาขาเงินเทอร์โบใกล้บ้าน

สนใจสมัครสินเชื่อ
ประเภทสินเชื่อ
ชื่อ-นามสกุล
เบอร์โทรศัพท์
ส่งข้อมูล

การกดส่งข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียบร้อยแล้ว

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 15% - 24% ต่อปี
*เงื่อนไขและการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด