เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้ยังไง?
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้ยังไง?
สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังงงๆ อยู่ว่า หากเราได้เงินดิจิทัล 10,000 บาท มาแล้ว เราต้องใช้ยังไง มีเงื่อนไขการใช้อะไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่า
วิธีการใช้จ่ายเงินดิจิทัล ต้องใช้จ่ายอย่างไร?
การใช้จ่ายเงินดิจิทัล
รอบที่ 1
เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก
1. ประชาชนต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก - ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
2. ต้องมีการซื้อ - ขายสินค้ากันจริง
3. เป็นการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ)
โดยประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอเดียวกันกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก
4. การซื้อ-ขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการทำธุรกรรมซื้อขายและสแกน QR Code
เพื่อชำระค่าสินค้ากันแบบพบหน้า (face-to-face) และไม่มีกระบวนการใด ๆ ในการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด และไม่ให้ทำซ้ำ ส่งต่อหรือวิธีการอื่นใดกับ QR Code ในแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว
รอบที่ 2
เป็นต้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า
1. ผู้ประกอบการร้านค้าต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง
2. ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง
วิธีการใช้จ่ายระหว่างประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า
ประชาชนสามารถใช้ได้ในพื้นที่ระดับอำเภอทั่วประเทศ (878 อำเภอ)
1. การชำระเงินภายใต้โครงการฯ เป็นแบบพบหน้า (Face to Face) โดยจะต้องตรวจสอบจาก
1) ที่อยู่ของร้านค้าเป็นไปตามที่ลงทะเบียนไว้กับโครงการฯ และ
2) ที่อยู่ของประชาชนที่ใช้สิทธิตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ และ
3) ขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้า ต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์
2. ประชาชนจะต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก - ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
3. ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป
(สำหรับร้านค้า) ร้านค้าที่จะสามารถถอนเงินสดได้
ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี และมีคุณสมบัติ ดังนี้ค่ะ
1. ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้แก่
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ
1.3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
เว้นแต่ร้านค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร โดยร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีข้างต้นต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี ดังนี้
1) กรณีร้านค้าที่ประกอบกิจการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จะต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปี 2565 และ 2566 ติดต่อกัน 2 ปี
2) กรณีร้านค้าที่ประกอบกิจการน้อยกว่า 2 ปี จะต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ติดต่อกันตั้งแต่เริ่ม ประกอบกิจการจนถึงปัจจุบัน
3) ร้านค้าใหม่ที่ยังไม่ครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในปีภาษีแรกหรือรอบระยะเวลา บัญชีแรกจะพิจารณาจากการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น
2. ร้านค้าต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์แบบรายเดือนในการลงทะเบียนรับสิทธิ
สำหรับเพื่อนๆ ที่มีเรื่องด่วนต้องรีบใช้เงิน เพื่อนๆ สามารถมาที่เงินเทอร์โบได้นะคะ เรารับจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถแทรกเตอร์ หรือโฉนดที่ดิน สมัครง่าย อนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่ต้องใช้สลิปเงินเดือนค่ะ สนใจสมัครได้ที่ด้านล่างนี้เลย
การกดส่งข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียบร้อยแล้ว
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 15% - 24% ต่อปี
*เงื่อนไขและการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการผ่านข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน